smart hospital คืออะไร ผมว่าหลายๆคนก็ยังไม่เข้าใจ กระทรวงเองก็ยังไม่มีนิยามชัดเจน มีอยู่ครั้งนึงกระทรวงนัดประชุมเรื่อง smart hospital 1วันเต็มๆยังไม่ได้นิยามคำว่า smart hospital เลย หลายๆโรงพยาบาลสับสน จนกระทั่งพัฒนาแบบหลงทางไปเลยก็มี
ช่วงเวลานี้มักมีคำว่า smart มาใช้หลายๆอย่างเช่น smart phone , smart card , smart tv , smart watch และอื่นๆอีกมากมาย คำว่าsmart มันคืออะไรบางอย่างที่ขยายความจากสิ่งๆนั้น สิ่งๆนั้นมีคุณสมบัติมากกว่าเดิม ดีกว่าเดิม ฉลาดกว่าเดิม ประมาณนั้น แต่เมื่อรวมกับคำว่า hospital เลยงงไปใหญ่ว่าโรงพยาบาลจะมีคุณสมบัติที่มากกว่าเดิมอย่างไร โรงพยาบาลจะดีกว่าเดิมอย่างไร และโรงพยาบาลจะฉลาดกว่าเดิมอย่างไร
คำนิยามคำว่า smart hospital สำหรับผมคือ โรงพยาบาลที่มีบริการที่ดี คุณภาพมาตรฐาน รวดเร็ว มีการเงินที่มั่นคง สวย สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ
เลยเอาตัวอักษร “SMART”มาอธิบายรายละเอียดเพื่อให้จดจำได้ง่ายๆดังนี้
S : service ต้องมีservice หรือบริการที่ดี ทั้งในส่วนของ medical service และhotel service โรงพยาบาลจะให้บริการแบบเดิมๆไม่ได้อีกแล้ว ต้องลบภาพโรงพยาบาลรัฐบาลทิ้งไป ต้องให้บริการเทียบเคียงเอกชน บุคลากรทางการแพทย์ต้องเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อคนไข้ใหม่ ไม่ใช่ว่าเราจะจัดบริการแบบไหนก็ได้ คนไข้ต้องง้อต้องทำตามระบบเดิมๆของเรา มุมมองต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องเปลี่ยนไป ไม่ใช่อนาถา โรงพยาบาลสามารถให้บริการที่ดีกว่าเดิมถึงจะsmart
M : money การบริหารการเงินการคลังต้องดีเยี่ยม ไม่เกิดวิกฤติการเงิน ไม่ค้างค่ายา ค่าตอบแทน มีรายได้เพิ่ม มีกำไรที่จะพัฒนาโรงพยาบาลให้ดียิ่งๆขึ้นไป การเอาเทคโนโลยีมาใช้แบบไม่ถูกต้อง จะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้โรงพยาบาล ถ้ารายรับไม่เพียงพอ จะยิ่งทำให้โรงพยาบาลขาดสภาพคล่องได้ และถ้าจะให้ดี เมื่อเอาเทคโนโลยีมาใช้แล้วสามารถทำให้การเงินการคลังดีขึ้นoutcomeดี แบบนี้ถึงsmart
A : architecture สถาปัตยกรรม ต้องสวย สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ข้อนี้จำเป็นมากๆ แต่มักโดนละเลย เรามักให้ความสำคัญเรื่องinterior design เป็นอันดับสุดท้าย และเป็นงบแรกที่จะโดนตัด แต่ผมคิดว่าสิ่งนี้แหละที่สำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น คนไข้เข้ามารับบริการก็รู้สึกผ่อนคลาย มีความน่าเชื่อถือของสถานที่ ผมพบว่าพฤติกรรมของผู้ให้และผู้รับบริการเปลี่ยนไปเนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โรงพยาบาลไหนยังจัดการเรื่องนี้ไม่ได้ก็ยังไม่smartอยู่ดี
R : rapid บริการรวดเร็ว โรงพยาบาลรัฐบาลรอคิว3-4ชั่วโมงเป็นเรื่องปกติ?? ผมว่าไม่ปกติ มันเป็น pain point ของผู้มารับบริการเลยละ โรงพยาบาลต้องหาวิธีจัดการเรื่องเวลาให้ได้ ลดระยะเวลารอคอยแบบที่ผู้มารับบริการรู้สึกได้ พึงพอใจขึ้น เทคโนโลยีเอามาใช้เรื่องคิวได้บ้าง แต่ควรดูเวลารอคอยโดยรวมตั้งแต่เดินเข้าโรงพยาบาลจนกระทั่งกลับบ้าน บางทีเอาเทคโนโลยีมาใช้แต่เวลารอคอยรวมกลับไม่ลดลงเลย ถ้าเป็นแบบนี้โรงพยาบาลควรกลับไปทบทวนระบบว่ามีคอขวดที่ไหน และจัดการ หรือรื้อระบบเดิมๆออกให้หมด จัดการวาง flow ใหม่ สำหรับผมเองวิธีไหนก็ได้ที่ทำให้เวลารอคอยลดลงอย่างชัดเจน ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี แบบนี้ก็เรียก smart
T : technology แน่นอนsmartต้องมีเทคโนโลยี ที่ดี ที่เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาล มาแล้วทำให้การทำงานง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ไม่เพิ่มภาระให้กับผู้ให้และผู้รับบริการ เทคโนโลยีต้องใช้เงินลงทุนเยอะ และต้องบริหารเก่งจริงๆถึงจะเอาเทคโนโลยีมาลดต้นทุนของการให้บริการได้ เอาเทคโนโลยีมาใช้แล้วเกิด outcome ที่ดี เห็นเป็นรูปธรรม สำคัญคือ outcome ถ้าoutcome ดีก็ smart ถ้ายังไม่เกิดoutcomeที่ดีก็ยังไม่ใช่ smart hospital
ผมคิดว่าโรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ยเป็นโรงพยาบาลที่ใกล้เคียงคำว่า smart hospital มากที่สุดแล้ว. แล้วโรงพยาบาลของท่านละ พร้อมจะเป็น smart hospital แล้วหรือยัง


จำนวนการเข้าชม 2728 ครั้ง

diyarbakır escort free hd porn xnxx porn videos sincan escort